วิธีปรุงอาหารไทยตามขั้นตอน
วิธีการปรุงอาหารไทยตามขั้นตอน หรือตามตำราอาหารไทยส่วนมากนั้น ผู้ปรุงอาหารไืทยจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนก่อนและหลัง ตามที่ระบุไว้ในตำราให้ถูกต้องเป็นขั้นเป็นตอน ผู้ปรุงอย่าใช้วิธีใส่รวมกันลงไปที่เดียวพร้อมๆ กัน หรือปรุงสัดส่วนคลาดเคลื่อนไปจากคำแนะนำในการปรุงอาหารไทย เพราะอาจจะทำให้เสียรสชาติของอาหาร หรือทำให้อาหารสุกๆ ดิบๆ ไม่เท่ากัน
ยกตัวอย่าง เช่น การต้มถั่วเขียวกับน้ำตาลเพื่อทำเป็นของหวาน ถ้าหากใส่น้ำตาลกับถั่วเขียวลงไปในน้ำพร้อมๆ กันแล้ว ถั่วเขียวจะไม่สุกบานและจะคงเป็นเม็ดแข็งตูมๆ อยู่อย่างนั้น เนื่องจากถั่วเขียวถูกน้ำตาลรัดตัว ดังนั้นถ้าเราต้องทำให้ถูกวิธีจะต้องต้มถั่วเขียวในน้ำต่างหากให้สุกบานเสียก่อนจึงค่ิอยใส่น้ำตาลภายหลัง
อาหารไทยชนิดอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน เราต้องให้ความสนใจกับการปรุงตามลำดับก่อนหลังให้ถูกต้อง เพราะพืชผักบางชนิดก็สุกช้าหรือสุกเร็วไม่เท่ากัน และบางชนิดถ้าต้มหรือเคี่ยวนานเกินไปก็จะเปื่อย และก็ยังทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารและโภชนาของอาหารนั้นลงไปอีกด้วย เรื่องการสูญเสียคุณค่าของสารอาหารต่างๆ นั้น มีมากมายนัก แล้วจะมาเขียนเพิ่มเติมให้อีกในภายหลัง
ปริมาณอาหารกับจำนวนของผู้บริโภค
สำหรับผู้ปรุงอาหารไทยนั้นก็ต้องรู้ด้วยว่า ปริมาณอาหารจำนวนมาก หมายถึง การทำไว้สำหรับรับรอง, งานเลี้ยง, งานพิธีต่างๆ ที่มีแขกมาร่วมในงานจำนวนมากๆ สำหรับรายการของอาหารแต่ละอย่าง เมื่อปรุงเสร็จแล้วก็ย่อมมีปริมารของอาหารมากบ้าง น้อยบ้างแตกต่างกันตามรายการของอาหาร ในทางที่ดีแล้ว ผู้ปรุงอาหารไทยหรือแม่บ้านควรจะใช้วิธีสังเกตด้วยตนเองบ่อยๆ ครั้งไว้ว่า จำนวนของอาหารที่เราปรุงขึ้นเป็นการรับประทานภายในบ้านหรือครอบครัวนั้น พอเพียงสำหรับปริมาณของผู้บริโภคนั้นอย่างไรบ้างแล้วนำมาเป็นเกณฑ์ในการทำ อาหาร
เพราะหากจะให้กำหนดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวลงไปเลย ตามอาหารไทยแต่ละรายการนั้นคงจะเป็นไปได้ยากมาก ว่าอาหารที่ทำจะพอเพียงกับจำนวนผู้บริโภคเท่าไร เว้นแต่ว่าอาหารบางรายการซึ่งอาจจะใช้วิธีการคำนวณตามจำนวนของผู้บริโภคได้ เท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น